วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ.2554
ในวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอน
อาจารย์ให้ส่งแผนการจัดการเรียนการสอนและอาจารย์สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวิชานี้

ความรู้ที่ได้รับจาก วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
-การสอนแบบโครงการ
-ความหมายวิทยาศาสตร์
-สื่อวิทยาศาสตร์
-ทักษะวิทยาศาสตร์
-ของเล่นวิทยาศาสตร์
-การเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
-การทำโครงการวิทยาศาสตร์
-การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
-การจัดนิทรรศการ
-การประเมินทางวิทยาศาสตร์
**การสังเกต เครื่องมือ : แบบประเมิน/แบบบันทึกการสังเกต
**สนทนา/ซักถาม เครื่องมือ : แบบสอบถาม/แบบบันทึก
**ผลงาน/ชิ้นงานของเด็ก

ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้ให้ความรู้ ความเมตตา แก่ลูกศิษย์ ดิฉันจะความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์ให้นำแผนมาส่งและแนะนำวิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนอีก 1 ครั้ง
วัตถุประสงค์ มีลักษณะดังนี้
-บอกชื่อ
-บอกลักษณะ
-บอกส่วนประกอบ
เช่น..............
-บอกชื่อของกล้วยได้
-บอกลักษณะของกล้วยได้
-บอกส่วนประกอบของกล้วยได้

ประสบการณ์สำคัญ
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนก
-ทักษะการวัด
-ทักษะการสื่อความหมาย
-ทักษะการลงความจากข้อมูล
-ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับสเปส
-ทักษะการคำนวน
เช่น................
-เด็กได้ใช้ทักษะการสังเกตจากประสาทสัมผัสทั้ง 5
-เด็กได้ใช้ทักษะการจำแนกประเภทของกล้วยชนิดเดียวกัน
-เด็กได้ใช้ทักษะการสื่อความหมายของกล้วย

สาระสำคัญ
-ชื่อเรื่องที่เราจะสอน
เช่น............
ลักษณะของกล้วย ( ลำต้นเขียว มีใบใหญ่ สีเขียว ) เป็นต้น

การจัดกิจกรรม
ขั้นนำ
-คำคล้องจอง
-นิทาน
-ปริศนาคำทาย
ขั้นทำกิกรรม
-กิจกรรมที่ครูเตรียมไว้
ขั้นสรุป
-คำคล้องจอง
-สนทนา/ซักถาม

อาจารย์ได้ให้แบบฟอร์มการเขียนแผนและไปปรับแก้แผนมาส่งในสัปดาห์ต่อไป



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์สอนการเขียนแผนวิทยาศาสตร์
สาระการเรียนรู้มาจาก เนื่อหา ดังนี้
-สิ่งที่อยู่รอบตัว
-เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก
-บุคคลและสถานที่
-ธรรมชาติ

ประสบการณ์สำคัญ
-ร่างกาย
-อารมณ์-จิตใจ
-สังคม
-สติปัญญา
-ภาษา
-วิทยาศาสตร์
-คณิตศาสตร์

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-ทีกษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนก
-ทักษะการวัด
-ทักษะการสื่อความหมาย
-ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
-ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
-ทักษะการคำนวน

อาจารย์ได้เขียนแผนเรื่องของเห็นให้ดูเป็นตัวอย่าง
ให้งานเป็นเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์มาส่งกลุ่มละ 1 สัปดาห์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์ให้นำงานประดิษฐ์ที่ทำจากแกนทิชูมาส่งและดู VDO เรื่องมหัศจรรย์ของนำ้และจดข้อความรู้ที่ได้ ดังนี้
การทดลองที่ 1
เริ่มแรกต้มน้ำแข็งให้เป็นของเหลว และ
เมื่อเกิดไอ เอาน้ำแข็งในจานมาวางด้าน
บน ผลที่เกิดขึ้น คือ กลายเป็นหยดน้ำ

การทดลองที่ 2

เริ่มแรกหาภาชนะมา 2แบบ (แบบที่ 1 แก้ว แบบที่ 2 จาน) แล้วนำน้ำขึ้นมาเทลงในภาชนะทั้ง 2 แล้วนำไปตากแดด 1 วัน ผลที่เกิดขึ้น คือ น้ำในจานลดลง ( เพราะ ภาชนะที่มีผิวหน้ากว้าง จะแห้งเร็วกว่าภาชนะที่มีผิวหน้าแคบ)
การทดลองที่ 3
นำน้ำมาเทใส่แก้วจนเต็ม แล้วนำกระดาษมาปิดปากแก้ว แล้วนำไปแช่ตู้เย็น ผลที่เกิดขึ้น คือ น้ำกลายเป็นนำ้แข็งจนล้นแก้ว ( เพราะ น้ำจะมีโมเลกุลที่อัดตัวกันแน่น เมื่อแช่เย็นโมเลกุลจะขยายตัวจนน้ำแข็งล้นอก้ว)

การทดลองที่ 4
นำแครทมาเทใส่ลงในแก้วที่เราใส่น้ำเกลือเอาไว้ สังเกตผล ผลที่เกิดขึ้น คือ แครทลอยเหนือน้ำ ( เพราะ ในแก้วที่มีนำ้เกลือมีโมเลกุลลดน้อยลง)

การทดลองที่ 5

เริ่มแรกนำผ้าพนแผลไปวางบนน้ำแข็งและนำเกลือมาโรยบนผ้าพันแผลและทิ้งไว้สักครู่ แล้วดึงผ้าพันแผลออก ผลที่เกิดขึ้น น้ำแข็งติดผ้าพันแผลขึ้นมา ( เพราะเกลือมีคุณ

สมบัติพิเศษ สามารถดูดความร้อนในบริเวณนั้นได้ เมื่อเทเกลือลงไปทำให้น้ำแข็งเย็นจัด เลยเกิดการยึดติดกับสิ่งของ)
การทดลองที่ 6

เริ่มแรกหาขวดมา 1ใบ แล้วเจาะรูให้ตรงกัน 3 รู เมื่อทำเสร็จก็ปิดรู้ทั้ง 3 รู แล้วเทน้ำจนเต็ม หลังจากนั้นก็เปิดทีละรู ผลที่เกิดขึ้น คือ น้ำทั้ง 3 รูพุ่งไม่เท่ากัน รูที่ 3 พุ่งไกลที่สุด ( เพราะ เกิดจากแรงดันน้ำ)

อาจารย์สรุปวิธีการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
1.จะต้องทดลองด้วยกระบ
วนการทางวิทยาศาสตร์
2.เด็กลงมือผฎิบัติ เด็กเล่นเอง (ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง เกิดเป็นการทำงาน
ของสมอง )

ผลงานจากแกนทิชชู





วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2554
ในวันนี้ก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์ อาจารย์ได้พูดถึงการจัดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากกระดาษทิชชูว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

แกนทิชชู
วิทยาศาสตร์ ดังนี้
-เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว
-ผลิตจากธรรมชาติ
-เปลี่ยนแปลงได้
-มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
**เป็นขยะ
**ใช้เยอะต้องตัดต้นไม้เยอะ
**สภาพแวดล้อม

อาจารย์ทบทวนการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการอีกครั้ง
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ
1.เริ่มโครงการ
-หาหัวข้อเรื่อง
**ให้เด็กเสนอ
-อยากรู้อะไร
**ถาม/ตอบ
-ทำอย่างไร
**สถานที่
**คน
**กิจกรรม
-ทบทวนประสบการณ์เดิม
**สนทนา

2.ดำเนินตามแผนการที่วางไว้และลงมือปฎิบัติ

3.สรุป/นำเสนอ
-หน้าที่
**อธิบาย
**ต้อนรับ
**จัดสถานที่
-คน
**เด็กผู้ดำเนินกิจกรรม
**ครูกำหนด
**ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
-สถานที่
**ในห้องเรียน
**นอกห้องเรียน




บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมแบบโครงการ
การจัดกิจกรรม
ลงมือกระทำ
- ปฎิบัติจริงด้วยมือ
-ปฎิบัติจริงด้วยตา
-ปฎิบัติจิริงด้วยหู
-ปฎิบัติจริงด้วยลิ้น
-ปฎิบัติจริงจมูก

สร้างความคิดสร้งสรรค์
- ความคิดริเริ่ม
-ความคิดยืดหยุ่น
-ความคิดคล่องแคล่ว
-ความคิดละเอียดละออ

ลักษณะของกิจกรรม/หลักการจัดกิจกรรม
- วิธีการ
**สอดคล้องกับพัฒนาการ
**มีความหลากหลาย
-เนื้อหา
**สอดคล้องกับหน่วย
**เป็นเรื่องใกล้ตัว
-ลำดับขั้นตอน
**ขั้นนำ
**ขั้นสอน
**ขั้นสรุป

ตัวอย่าง การจัดการเรียนแบบโครงการ
เรื่องดอกไม้

ขั้นริเริ่ม
ครูถามถึงสิ่งที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับดอกไม้ โดยทำเป็นแผนผัง
-ส่วนประกอบของดอกไม้
-ดอกไม้มีกี่ชนิด
-มีสีอะไรบ้าง
-มีประโยชน์อย่างไร
-ขยายพันธุ์ด้วยวิธีใด
-มีวิธีการดูแลอย่างไร
-มีวิธีปลูกอย่างไร
-ดอกไม้มีพิษอย่างไร

ขั้นลงมือปฎิบัติ
การจัดกิจกรรม
-กิจกรรมเคลื่อนไหว
**แต่งเพลงเกี่ยวกับดอกไม้
-กิจกรรมเสริมประสบการณ์
**เชิญวิทยากรมาให้ความรู้
**พาไปดูสถานที่จริง
-กิจกรรมศิลปะ
**วาดรูปส่วนประกอบของดอกไม้
**พิมพ์ภาพ
-ประดิษฐ์ดอกไม้
-แต่งนิทานเรื่องดอกไม้
-ประกอบอาหาร
-กิจกรรมเล่นเสรี
**มุมประสบการณ์ที่เราจัด

ขั้นสรุป
การนำเสนอ
-นิทรรศการ
-เพลงที่แต่ง
-นิทานที่แต่ง

และอาจารย์ก็สรุปการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการอีกครั้ง



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์ให้นำงานประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ให้ไปแก้มานำเสนอ และให้ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของแสงและจดข้อความรู้ที่ได้จากการดู VDO

ข้อความรู้ที่ได้
1.กล้องรูเข็ม
- เป็นกล่องทึบแสงที่ทำหน้าที่เหมือนห้องมืด ซึ่งจะมีรู้ค่อยรับแสงและเมื่อรูเปิดรับแสงด้วยระยะเวลาที่พอเหมาะแสงจากวัตถุฉายผ่านรูและตกบนแผ่นฟิล์มไวแสง ภาพที่ปรากฎบนแผ่นฟิล์มจะเป็นภาพกลับหัวของวัตถุ

2.วัตถุโปร่งแสง
- วัตถุที่แสงผ่านไปได้อย่างไม่เป็นระเบียบ จึงเกิดแสงที่กระจายของแสงในวัตถุ ทำให้ไม่สามาถมองเห็นที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งไม่ชัดเจน

3.วัตถุโปร่งใส
- เป็นวัตถุที่แสงสามารถผ่านไปได้อย่างเป็นระเบียบ เมื่อเรานำไปกั้นแสงจะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจน

4.วัตถุทึบแสง
- เป็นวัตถุที่แสงผ่านเข้าไปในวัตถุ และแสงไม่สามารถผ่านของมาจากวัตถุได้

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2554
ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะ เป็นสัปดาห์สอบกลางภาค มหาวิทยาลัยจึงงดการเรียนการสอน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2554
ในวันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ (ของเล่นวิทยาศาสตร์)
ดิฉันทำขวดเป่าลม ไปนำเสนออาจารย์ แต่เกิดความผิดพลาด อาจารย์เลยแนะนำให้ดิฉันทำหลอดเป่าน้ำและนำมาเสนอในคาบต่อไป
ผลงาน ขวดเป่าลม (ของเดิม)

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ในวันนี้อาจารย์ให้ส่งงานการเขียนหลักการและเหตุผล แต่เพื่อนบอกว่าไม่ค่อยเข้าใจ อาจารย์เลยอธิบายการเขียนหลักการและเหตุผลให้ฟังอีกครั้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขั้น ว่าทำไมต้องเขียนหลักการและเหตุผล

หลังจากนั้นอาจารย์ก็สั่งงานให้ไปเขียนหลักการและเหตุผล เป็นงานเดี่ยวมาส่ง
มีกำหนดหัวข้อ ดังนี้
1.เขียนหลักการและเหตุผล
2.การตัดกิจกรรม
3.วิธีการดำเนินกิจกรรม
4.สื่อ

ให้ประดิษฐ์ของเล่นที่ทำมาจากเศษวัสดุ
-บอกอุปกรณ์
-ขั้นตอนวิธีการทำ

ให้เขียนกิจกรรมวิทยาศาสตร์
-มีอุปกรณ์อะไรบ้าง
-วิธีการทดลองอย่างไร
-ประโยชน์

เริ่มการเรียนการสอนเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ลักษณะของเด็กปฐมวัย
- เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น
- มีการพัฒนาทางสติปัญญาที่สุดในชีวิต
- แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
คือ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำ

ทักษะการสังเกต
คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรง

ทักษะการจำแนก
คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยใช้เกณฑ์
-ความแตกต่าง
- ความเหมือน
- ความสัมพันธ์ร่วมกัน

ทักษะการวัด
คือ การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการ
- เพื่อรู้จักสิ่งของที่จะวัด
- การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
- วิธีที่เราจะวัด

ทักษะการสื่อความหมาย
คือ การพูด เขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง ที่แสดงความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจน
- บรรยายลักษณะของวัตถุ
- บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
คือ การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
คือ ดารรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติ แทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การแรเงาที่เกิดจาก 3 มิติ การเห็นการเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา
- บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
- บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ

ทักษะการคำนวน
คือ ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก การลบ การคุณ การหาร เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
- การนับจำนวนของวัตถุ
- การบวก ลบ คุณ หาร

อาจารย์สรุปทำไมจะต้องสอนวิทยาศาสตร์
- มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
- ความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
- มาตรฐานด้านผู้เรียน
คือ มาตรฐาน 5 มีความสามรถในการวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้่งสรรค์



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคา พ.ศ. 2554
ในวันนี้อาจารย์ได้ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์มานำเสนอก่อนจะเริ่มการเรียนการสอน มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ
- กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ การเดินทางของเสียง
- กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ การเดินทางของแสง

หลังจาก อาจารย์ก็สรุปข้อความรู้และกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์
ข้อความรู้
-จิตวิทยาการเรียนรู้
-แนวคิดนัการศึกษา
-หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
-กิจกรรมวิทยาศาสตร์
- ของเล่นวิทยาศาสตร์
-ตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์
กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์
- ไข่ลอยฟ้า
- แรงดันน้ำ
- ไข่ลอยน้ำเกลือ
- ขวดเป่าลูกโป่ง
- การเดินทางของแสง
- การเดินทางของเสียง

เรื่องที่เรียนในวันนี้ คือ หลักการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กระบวนการทางวิิทยาศาสตร์ มีดังนี้
- การตั้งคำถาม
- การตั้งสมมุติฐาน
- การทดลอง ลงมือปฎิบัติ(สังเกต)
- บันทึกผล
- สรุปผลการทดลอง
- นำผลการทดลองมาเทียบเคียงกับสมมติฐาน

สิ่งที่เด็กจะได้รับจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์
- ข้อความรู้/ข้อเท็จจริง
ซึ่งเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์จะมาจากการจัดประสบการณ์ ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือหลักสูตร

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สั่งการบ้าน
ให้ไปเขียนหลักการและเหตุผล เกี่ยวกับ ลด ละ เลิก บุหรี่ และสิ่งเสพติด ถวายพ่อหลวง 84 พรรษา เขียนเป็นความเรียง

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันอังคารที่12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ในวันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนองานของแต่ละกลุ่มอีกครั้ง
กลุ่มของดิฉันนำเสนอในรูปของรายการทีวี
เรื่อง แนวคิดนักการศึกษา

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ในวันนี้อาจารย์ให้นำงานกลุ่มของแต่ละกลุ่มมาเสนอตามหัวข้อที่กลุ่มตัวเองได้รับ
กลุ่มของดิฉันได้ เรื่อง แนวคิดนักการศึกษา แต่พออกไปรายงานไดแป๊บเดี๋ยวอาจารย์ก็บอกว่าพอและให้มานั่งที่ให้กลุ่มต่อไป ออกมานำเสนอ ( ขอบอกว่าตอนนั้นงงมากมาก ไม่รู้ว่าอาจารย์เป็นไรหรือว่าเราทำอะไรผิด)
แต่พอกลุ่มเพื่อนคนอื่นออกเป็นนำเสนอ ก็โดนเหมือน แต่มีเพื่อนอีก 2 กลุ่มที่อาจารย์ให้นำเสนอ คือกลุ่มของ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ หลังจากจบสองกิจกรรมนี่้แล้ว อาจารย์ก็บอกเหตุผลที่ให้รายจบเพราะว่า ออกมารายงานก็เหมือนเดิม คือออกมายืนงาน Powerpoint ดังนั้นอาจารย์จึงให้ไปเตรียมตัวมาใหม่แล้วอาทิตย์หน้ามานำเสนออีก 1 รอบทุกกลุ่ม

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ไปหากิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์มากลุ่มละ 1 การทดลองแล้วนำมานำเสนอหน้าชั้นในสัปดาห์ต่อไป

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ในวันนี้ก่อนการเรียนการสอนอาจารย์ได้เปิดเพลง ไอน้ำ ให้ฟัง โดยให้คำถามมา 3 คำถาม ดังนี้
1.ได้ข้อความรู้อย่างไร
2.เป็นวิทยาศาสตร์ตรงไหน
3.นำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร

1.ได้ข้อความรู้อย่างไร
- ไอน้ำลอยจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง
- การเปลี่ยนแปลงจากของเหลวหลายไปไอน้ำ
- ไอน้ำเกิดจากความร้อนจากดวงอาทิตย์
- คุณสมบัติของน้ำ

2.เป็นวิทยาศาสตร์ตรงไหน
- เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว
- การเปลี่ยนแปลงจากของเหลวกลายเป็นไแน้ำ
- สามารถพิสูจน์ได้
- มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

3.นำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร
- นำเนื้อเพลงนำไปใช้ในหน่วยการเรียนได้
- เป็นสื่อการเรียนการสอน
- นำเพลงมาเป็นสื่อในการนำเข้าเรียนกิจกรรม

หลังจากนั้นอาจารย์ก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน ดังนี้

วิทยาศาสตร์ คือ
- เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้
- เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
- เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- เป็นสิ่งที่มนุษย์หรือธรรมชาติสร้างขึ้น

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ใช้ในชีวิตประจำวัน
- ใช้ในการสร้างอาชีพ
- ทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น
- รู้ถึงเหตุการณ์ล่วงหน้า เช่นการพยากรณ์อากาศ
- ทำให้เกิดความสมดุล


ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สั่งการบ้าน ให้ไปทำงานกลุ่ม มีหัวข้อ ดังนี้
- จิตวิทยาการเรียนรู้
- แนวคิดนักการศึกษา
- หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
- กิจกรรมวิทยาศาสตร์
- ของเล่นวิทยาศาสตร์
- ตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์



บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2554
วันนี้เป็นวันแรกของการจัดการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ อาจารย์ผู้สอน คือ อาจารย์จินตนา สุขสำราญ ซึ่งในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวรายวิชาที่เรียน คือ
อาจารย์ได้อธิบายให้ความรู้ในเรื่อง การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

การจัด
- การออกแบบ
- การวางแผน

ประสบการณ์
- การรับรู้
- การเรียนรู้
- ประสาทสัมผัสทั้ง 5

วิทยาศาสตร์
- เนื้อหา
- ทักษะ ได้แก่
1.การตั้งสมมติฐาน
2.การสังเกต
3.การทดลอง
4.การบันทึก
5.สรุปผล/นะไปแก้ปัญหา

เด็กปฐมวัย
- ความต้องการ ที่มา จากพัฒนาการ
- ความสามารถ ที่มาจากพัฒนาการ
- วิธีการเรียนรู้ ผ่านการปฎิบัติ

หลังจากที่อาจารย์อธิบายเกี่ยวรายวิชาเสร็จแล้ว ตามธรรมเนียมอาจารย์ได้สั่งงานที่เป็นปกติ คือ การทำ Bloger และหลังจากที่อาจารย์ได้สั่งงาน ก็ถึงเวลากลับบ้านพอที